Bio Marine Collagen หรือ ไบโอมารีนคอลลาเจน คืออะไร
ร่างกายของคนเรานั้นจะมี คอลลาเจน หนาแน่นในวัยเด็ก และจะค่อยๆ เสื่อมสภาพลงตามกาลเวลา จะเห็นได้ว่าเมื่ออายุมากขึ้น เส้นใยคอลลาเจน เหล่านี้จะเสื่อมสลาย ทำให้ชั้นผิวหนังยุบตัวลงอันเป็นสาเหตุของความเหี่ยวย่นและริ้วรอย รวมถึงการเกิดปัญหาข้อเสื่อม กระดูกเสื่อม อันเนื่องมาจาก คอลลาเจน ใน กระดูก ลดลง ทำให้ กระดูก ไม่สามารถรับน้ำหนักได้ ขาดความยืดหยุ่น เปราะหักง่าย โดยพบว่าคนที่มีอายุ 25 ขึ้นไป จะมีปริมาณ คอลลาเจน ลดลงทุกปี ปีละ 1.5%

เปรียบเทียบกระดูกของคนปกติ กับคนที่เป็นโรคกระดูกพรุน
โรคกระดูกพรุน
คือภาวะที่ปริมาณแร่ธาตุ (ที่สำคัญคือแคลเซียม) ในกระดูกลดลง ร่วมกับความเสื่อมของเนื้อเยื่อที่ประกอบเป็นโครงสร้างภายในกระดูก ทำให้เนื้อหรือมวลกระดูกลดความหนาแน่น จึงเปราะบางแตกหักง่าย บริเวณที่พบการหักของกระดูกได้บ่อย ได้แก่ ข้อมือ สะโพก และสันหลัง
โรคนี้สามารถป้องกันได้ด้วยการมีพฤติกรรมสุขภาพที่ดี เช่น กินอาหารที่มีแคลเซียมสูง ออกกำลังกายสม่ำเสมอ รับแสงแดดอ่อนๆ เป็นประจำ ไม่สูบบุหรี่ ไม่ดื่มสุราจัด เป็นต้น พฤติกรรมเหล่านี้ ควรเริ่มตั้งแต่วัยเด็กหรือวัยหนุ่มสาว
-สาเหตุ
กระดูกประกอบด้วย โปรตีน คอลลาเจน และแคลเซียม โดยมีแคลเซียมฟอสเฟตเป็นตัวทำให้กระดูกแข็งแรง ทนต่อแรงดึงรั้ง
กระดูกมีการสร้างและสลายตัวอยู่ตลอดเวลา กล่าวคือ ขณะที่มีการสร้างกระดูกใหม่โดยใช้แคลเซียมจากอาหารที่กินเข้าไป ก็มีการสลายแคลเซียมในเนื้อกระดูกเก่าออกมาในเลือดและถูกขับออกมาทางปัสสาวะ และอุจจาระ ปกติในเด็กจะมีการสร้างกระดูกมากกว่าการสลาย ทำให้กระดูกมีการเจริญเติบโต มวลกระดูกจะค่อยๆ เพิ่มขึ้นจนมีความหนาแน่นสูงสุด เมื่ออายุประมาณ 30-35 ปี หลังจากนั้นจะเริ่มมีการสลายกระดูกมากกว่าการสร้าง ทำให้กระดูกค่อยๆ บางตัวลงตามอายุที่มากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในผู้หญิงช่วงหลังวัยหมดประจำเดือน ซึ่งมีการลดลงของฮอร์โมนเอสโทรเจนอย่างรวดเร็ว ฮอร์โมนชนิดนี้ช่วยการดูดซึมแคลเซียมเข้าสู่ร่างกายและชะลอการสลายของ แคลเซียมในเนื้อกระดูก เมื่อพร่องฮอร์โมนชนิดนี้ก็จะทำให้กระดูกบางตัวลงอย่างรวดเร็ว จนเกิดภาวะกระดูกพรุน
ดังนั้น โรคกระดูกพรุนส่วนใหญ่จึงเกิดจากภาวะหมดประจำเดือนในผู้หญิง (ซึ่งจะเริ่มมีอัตราเร่งของการสลายตัวของกระดูกในช่วง 10-20 ปี หลังหมดประจำเดือน) และความเสื่อมตามอายุที่มีการสะสมอย่างค่อยเป็นค่อยไปและยาวนานของการเสีย สมดุลระหว่างการสร้างและการสลายของกระดูก (พบได้ทั้งชายและหญิงที่มีอายุมากกว่า 75 ปี)
นอกจากนี้ ยังอาจพบร่วมกับภาวะอื่นๆ เรียกว่า กระดูกพรุนชนิดทุติยภูมิ (secondary osteoporosis) เช่น ภาวะต่อมไทรอยด์ทำงานเกิน โรคคุชชิง (ภาวะต่อมหมวกไตทำงานเกินหรือมีฮอร์โมนสตีรอยด์มากเกิน) ต่อมพาราไทรอยด์ทำงานเกิน เบาหวาน โรคปวดข้อรูมาตอยด์ โรคตับเรื้อรัง น้ำหนักน้อย (ผอม) ภาวะขาดสารอาหารและแคลอรี ภาวะขาดแคลเซียม มะเร็ง (เต้านม เม็ดเลือดขาว ต่อมน้ำเหลือง) การใช้ยาสตีรอยด์ ยาขับปัสสาวะ (เช่น ฟูโรซีไมด์) หรือเฮพารินนานๆ หรือใช้ฮอร์โมนไทรอยด์มากเกิน การไม่ได้เคลื่อนไหวร่างกายนานๆ (เช่น ผู้ป่วยที่นอนแบ็บอยู่บนที่นอนตลอดเวลา) การสูบบุหรี่ (ทำให้เอสโทรเจนในเลือดลดลง) การเสพติดแอลกอฮอล์ เป็นต้น
บางครั้งอาจพบในคนอายุไม่มาก โดยไม่ทราบสาเหตุชัดเจนก็ได้
นอกจากนี้ ยังพบว่าโรคนี้มีความสัมพันธ์กับกรรมพันธุ์อีกด้วย
-อาการ
ส่วนใหญ่มักจะไม่มีอาการแสดง จนกระทั่งเกิดภาวะกระดูกหัก ก็จะเกิดอาการเจ็บปวด หรือความผิดปกติของโครงสร้างกระดูก เช่น ปวดข้อมือ สะโพก หรือหลัง (เนื่องจากกระดูกข้อมือ สะโพก หรือสันหลังแตกหัก) ส่วนสูงลดลงจากเดิม (เนื่องจากการหักและยุบตัวของกระดูกสันหลัง ซึ่งอาจเกิดขึ้นโดยไม่รู้ตัว เป็นต้น)
ถ้าเป็นโรคกระดูกพรุนชนิดทุติยภูมิก็อาจมีอาการแสดงของโรคที่เป็นสาเหตุ
-การดูแลตนเอง
- ผู้ที่เป็นกลุ่มเสี่ยง เช่น ผู้สูงอายุ หญิงวัยหมดประจำเดือน (วัยทอง) ผู้ที่ใช้ยาสตีรอยด์นานๆ ผู้ที่มีโรคที่เสี่ยงต่อการเกิดภาวะกระดูกพรุน เป็นต้น ควรปรึกษาแพทย์เพื่อตรวจกรองโรคกระดูกพรุน
- ผู้ที่ตรวจกรองโรคพบว่าเริ่มมีภาวะกระดูกพรุน จะต้องระมัดระวังอย่าให้หกล้มหรือเกิดอุบัติเหตุ ทำให้กระดูกหัก เช่น แก้ไขภาวะความดันตกในท่ายืน หรือสายตามัว (เช่น ต้อกระจก) หลีกเลี่ยงการใช้ยาที่ทำให้ง่วงนอน หรือกล้ามเนื้ออ่อนแรง (เช่น ยากล่อมประสาท) และควรจัดสภาพแวดล้อมภายในบ้านให้ปลอดภัย (เช่น บันไดที่ขึ้นลง แสงสว่าง ห้องน้ำ พื้นต่างระดับ ราวเกาะยึด เป็นต้น)
- ผู้ที่มีภาวะกระดูกพรุนที่รุนแรง หรือมีภาวะแทรกซ้อน (เช่น กระดูกหัก) ควรติดตามรักษากับแพทย์และกินยาอย่างต่อเนื่อง จะช่วยให้กระดูกแข็งแรงขึ้น และป้องกันภาวะแทรกซ้อนต่างๆ
-การป้องกัน
- กินแคลเซียมให้พอเพียงทุกวัน
- ออกกำลังกายเป็นประจำ
- รับแสงแดด ช่วยให้ร่างกายสังเคราะห์วิตามินดี เพื่อเป็นฮอร์โมนกระตุ้นในการสร้างกระดูก
- รักษาน้ำหนักตัวอย่าให้ต่ำกว่าเกณฑ์
- หลีกเลี่ยงพฤติกรรมที่เสี่ยงต่อการเกิดภาวะกระดูกพรุน
- รักษาโรคหรือภาวะที่ทำให้เป็นโรคกระดูกพรุน เช่น ต่อมไทรอยด์ทำงานเกิน โรคคุชชิง

ผลิตภัณฑ์ไบโอมารีนคอลลาเจน
วิธีที่ง่ายและสะดวกคือ การรับประทาน คอลลาเจน เพื่อช่วยเสริมสร้างความแข็งแรงของชั้นผิวหนังและเพื่อเสริมให้กระดูกแข็ง แรง ควรรับประทาน คอลลาเจน และ แคลเซียม เสริมจะช่วยป้องกัน ภาวะกระดูกพรุนได้
สำหรับ สุภาพสตรี แล้ว คอลลาเจน นับเป็นสารอาหารชนิดหนึ่งที่สำคัญ ซึ่งจะช่วยให้ผิวพรรณมีความสวยงาม คงความอ่อนเยาว์เอาไว้ได้
มีชีวิตที่ดีได้ด้วยการมีสุขภาพผิวพรรณที่ดี และมีกระดูกที่แข็งแรง ด้วยเครื่องดื่มสารสกัดจาก มารีน คอลลาเจน ผสม แคลเซี่ยม
เริ่มสังเกต ความเปลี่ยนแปลงในร่างกายดูนะครับ แล้วรีบป้องกัน ก่อนที่สาเหตุของโรคต่างๆ จะตามมานะครับ
ไทยไบโอ แหล่งรวมข้อมูลสุขภาพด้านการต้านความชรา แห่งเดียวของไทย
+++++ ร่วมแสดงความคิดเห็น และแชร์ต่อให้เพื่อนๆ ได้ที่นี้ +++++